ฟันเก ฟันไม่สวย ฟันไม่สบกัน อยากมีฟันสวย ต้องทำอย่างไร
ฟันเก ฟันไม่สวย ฟันไม่สบกัน อยากมีฟันสวย ต้องทำอย่างไร
ฟันเก ฟันไม่เท่ากัน ฟันไม่สวย ปัญหาปวดใจ ของคนรักฟัน แล้วจะทำอย่างไร!!! ก็ต้องไปปรึกษาหมอฟัน หรือทันตแพทย์ เพื่อเลือกวิธีการรักษา และจัดฟัน
การจัดฟัน ก็คือ กระบวนการติดเครื่องมือจัดฟัน ซึ่งจะทำให้เกิดแรงกดลงไปที่ฟัน ล็อกฟัน เพื่อให้ฟันเกิดการเคลื่อนย้ายไปในทิศทางที่ต้องการและค่อย ๆ ขยับเรียงอย่างเป็นระเบียบ ช่วยในเรื่องการสบกันของฟันบนกับฟันล่าง ทำให้บุคลิกภาพดีขึ้น และมั่นใจ ยิ้มได้มากขึ้น อีกด้วยนะ
ถ้าคุณมีปัญหา ฟันเก ฟันห่าง ปัญหาฟันที่เรียงซ้อนกัน หรือฟันที่สบกันไม่พอดี มันเป็นปัญหาคาใจ ในการใช้ชีวิตเชียวหละ รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับขากรรไกรที่ส่งผลต่อการเคี้ยวอาหาร ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารลดลง และยังเป็นอุปสรรคต่อการทำความสะอาด ส่งผลต่อสุขภาพทางช่องปากและฟันตามมา ซึ่งสาเหตุของฟันที่สบกันไม่พอดีนี้อาจมาจากการชอบดูดนิ้วตอนเด็ก การถอนฟันแท้ในช่วงก่อนโตเป็นผู้ใหญ่ หรือเกิดจากพันธุกรรม
ดังนั้นการจัดฟันจึงมีผลดีต่อสุขภาพช่องปากและฟัน เพราะเมื่อฟันเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบ การทำความสะอาดจะง่ายขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดฟันผุและโรคเหงือก นอกจากนี้ ฟันที่สบกันสนิทจะทำให้เคี้ยวอาหารได้อย่างละเอียด ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการพูดที่เกิดจากการสบของฟัน
วัยใด เป็นวัยที่เหมาะสมสำหรับการจัดฟัน
คำตอบไม่ยากเลย ไม่ว่าอายุเท่าใดก็สามารถจัดฟันได้ แต่ทันตแพทย์มักแนะนำให้เด็กอายุ 7 ปีเข้ารับการตรวจฟันเพื่อดูว่ามีปัญหาที่ควรแก้ไขด้วยการจัดฟันหรือไม่ การตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้แก้ไขง่ายขึ้น เนื่องจากกระดูกของเด็กยังมีการเติบโตและพัฒนาไม่เต็มที่ การจัดฟันในเด็กอาจต้องแบ่งการจัดฟันเป็น 2 ระยะด้วยกัน คือ
การจัดฟันระยะที่ 1 ทำในช่วงอายุ 7 ปี โดยเป็นการตรวจรักษาปัญหาการสบฟันหรือมีฟันซ้อนกันคับแน่น เช่น เด็กที่มีปัญหาขากรรไกรบนแคบ ทำให้ฟันแน่นซ้อนกันมากจึงสบไม่พอดีกับขากรรไกรล่าง สามารถรักษาด้วยการใช้เครื่องมือขยายขากรรไกรบนเพื่อช่วยให้ขากรรไกรสบกันได้ดีขึ้น แต่เครื่องมือนี้สามารถใช้ได้เฉพาะในช่วงอายุที่กระดูกยังปรับเปลี่ยนได้ง่าย ทั้งนี้ ในระยะที่ 1 ทันตแพทย์จะให้เด็กใส่เครื่องมือสำหรับจัดฟันทันทีหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี หลังจากนี้จึงพักการจัดฟันระยะที่ 1 ไว้เพื่อรอให้ฟันแท้ขึ้นมาแทนฟันน้ำนม จึงจะเริ่มการจัดฟันระยะที่ 2 ต่อไป
การจัดฟันอีกครั้งในระยะที่ 2 จะทำเมื่ออายุประมาณ 12-13 ปี เนื่องจากเป็นช่วงที่ฟันแท้ขึ้นครบสมบูรณ์และสามารถให้เด็กใส่เหล็กจัดฟันบนฟันแท้ทั้งหมดได้แล้ว แต่หากเลยช่วงเวลาของการจัดฟันทั้ง 2 ระยะไปแล้ว การรักษาด้วยการจัดฟันแบบระยะที่ 2 เพียงอย่างเดียวก็ถือว่าเพียงพอและได้ผลเช่นกัน ยกเว้นกรณีที่มีฟันขึ้นซ้อนกันมากก็อาจจำเป็นต้องถอนฟัน เพื่อให้ฟันมีพื้นที่ในการขยับเรียงตัว
นอกจากการถอนฟัน ก็ยังมีอีกวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่มพื้นที่ในปากได้ คือการตะไบฟัน โดยทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือในการช่วยให้รูปร่างและขนาดด้านข้างของฟันเล็กลง เกิดพื้นที่ให้ฟันขยับตัวและสามารถจัดฟันได้ ทั้งนี้การตะไบฟันจะใช้เฉพาะกับกรณีที่มีฟันซ้อนเกไม่มากเท่านั้น
การจัดฟันในผู้ใหญ่สามารถทำได้เรื่อย ๆ ไม่จำกัดอายุ เพียงแต่อาจต้องใช้เวลานานกว่าการจัดฟันในเด็ก การจัดฟันในผู้ใหญ่แม้จะใช้เวลาในการจัดฟันมากกว่า แต่ก็ส่งผลให้ฟันเป็นระเบียบและสบกันสนิทได้เช่นเดียวกับการจัดฟันในเด็ก
การจัดฟันเป็นวิธีแก้ไขปัญหาการสบกันของฟันหรือการเรียงตัวของฟันที่ใคร ๆ ก็สามารถรับการรักษาได้ โดยผู้ที่มีปัญหาสามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดฟัน เพื่อพิจารณาและตรวจว่าควรจัดฟันหรือไม่ การจัดฟัน คือกระบวนการติดเครื่องมือจัดฟันซึ่งจะทำให้เกิดแรงกดลงไปที่ฟัน เพื่อให้ฟันเกิดการเคลื่อนย้ายไปในทิศทางที่ต้องการและค่อย ๆ ขยับเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ นอกจากนี้ยังช่วยในเรื่องการสบกันของฟันบนกับฟันล่าง นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานและสุขภาพของช่องปากและฟันแล้ว การจัดฟันยังช่วยเพิ่มความสวยงามของฟัน ทำให้พูดหรือยิ้มได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น
เหตุใดจึงควรจัดฟัน
การมีฟันเก ฟันห่าง ฟันที่เรียงซ้อนกัน หรือฟันที่สบกันไม่พอดี รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับขากรรไกรที่ส่งผลต่อการเคี้ยวอาหาร ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ประสิทธิภาพในการเคี้ยวอาหารลดลง และยังเป็นอุปสรรคต่อการทำความสะอาด ส่งผลต่อสุขภาพทางช่องปากและฟันตามมา ซึ่งสาเหตุของฟันที่สบกันไม่พอดีนี้อาจมาจากการชอบดูดนิ้วตอนเด็ก การถอนฟันแท้ในช่วงก่อนโตเป็นผู้ใหญ่ หรือเกิดจากพันธุกรรม
ดังนั้นการจัดฟันจึงมีผลดีต่อสุขภาพช่องปากและฟัน เพราะเมื่อฟันเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบ การทำความสะอาดจะง่ายขึ้น ช่วยป้องกันการเกิดฟันผุและโรคเหงือก นอกจากนี้ ฟันที่สบกันสนิทจะทำให้เคี้ยวอาหารได้อย่างละเอียด ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาเกี่ยวกับการพูดที่เกิดจากการสบของฟัน