เหตุผลที่ “กระดูกฟัน” เกิดการละลาย !
เหตุผลที่ “กระดูกฟัน” เกิดการละลาย !
หากพูดถึงปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันนั้น หลายคนคงเคยประสบปัญหาการสูญเสียฟัน หรือเกิดโรคฟันผุจนต้องเข้ารับการถอนฟัน ซึ่งการถอนฟันหรือการสูญเสียฟันธรรมชาตินั้น ทำให้เราเกิดความไม่มั่นใจ เสียบุคลิกภาพ และมีรอยยิ้มที่ไม่น่าประทับใจสักเท่าไหร่ นั่นก็เกิดจากสาเหตุที่เราดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันอย่างไม่ถูกวิธี ส่งผลให้เกิดคราบหินปูนตามตัวฟันส่งผลให้เหงือกอักเสบ และหากปล่อยทิ้งไว้จะลุกลามและเกิดความรุนเเรงจนก่อให้เกิดการอักเสบต่อกระดูกเบ้าฟัน ซึ่งการอักเสบนี้จะส่งผลให้กระดูกล้อมรอบฟันละลายลงไปเรื่อยๆ และถ้าหากไม่มีการรักษาอย่างไม่ถูกวิธีจนกระทั่งสูญเสียฟันไป และการที่เราไม่มีฟันก็จะทำให้กระดูกฟันเกิดการละลายได้นั่นเอง ทั้งยังอาจจะส่งผลให้เกิดโรคปริทันต์ ก็คือโรคที่เกิดกับเนื้อเยื่อหรืออวัยวะรอบๆ ตัวฟัน ได้แก่ เหงือก เนื้อเยื่อปริทันต์ และกระดูกหุ้มรากฟัน ในระยะแรกที่เป็นโรคนี้จะไม่มีอาการใดๆ ต่อมาจะมีการทำลายอวัยวะเหล่านี้ อาจจะส่งผลให้มีอาการปวดบวม ฟันโยกและหลุดในที่สุด
โดยสาเหตุหลักๆที่ส่งผลให้รากฟันเกิดการละลายนั้น มาจากโรคเหงือกโดยส่วนใหญ่ และการที่เราเกิดการสูญเสียฟันธรรมชาติไป และไม่เข้ารับการรักษาหรือแก้ไข เพราะการสูญเสียฟันธรรมชาตินั้น สามารถรักษาและทำการแก้ไขด้วยการฝังรากฟันเทียม เพราะการฝังรากฟันเทียมนั้น จะทำให้กระดูกฟันไม่ละลาย ทั้งยังสามารถทำให้คุณกลับมามีฟันที่เรียงตัวสวยเป็นธรรมชาติ และสามารถใช้งานรากฟันเทียมได้เสมือนกับฟันธรรมชาติเลย แต่อย่างไรก็ตาม การที่จะเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมนั้น ทันตแพทย์จะทำการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันของผู้เข้ารับการรักษาเสียก่อน รวมไปถึงจะทำการตรวจดูความพร้อมแบะความหนาแน่นของกระดูกขากรรไกรที่จะใช้รองรับรากฟันเทียม หรือที่เราเรียกว่า กระดูกฟันนั่นเอง หากกระดูกรากฟันมีการละลายและเหลือกระดูกน้อย ก็จะไม่สามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมได้ แต่ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผู้เข้ารับการรักษาเข้ารับการปลูกกระดูกฟัน สำหรับการปลูกกระดูกฟันนั้น ก็คือการทดแทนกระดูกที่สูญเสียไป ด้วยวัสดุกระดูกเทียมชนิดต่างๆ หรือกระดูกของคนไข้เอง ก็ต้องดูแล้วแต่กรณี แต่การนำกระดูกของผู้เข้ารับการรักษาเอง มาปลูกถ่ายบนกระดูกขากรรไกร จะมีข้อดีคือ กระดูกจะสามารถเข้ากับเนื้อเยื่อของผู้เข้ารับการรักษาได้อย่างแน่นอน และป้องกันการเกิดการติดเชื้อได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการฝังรากฟันเทียมได้ นั่นเอง แต่ทั้งนี้การใช้กระดูกของผู้เข้ารับการรักษาเองนั้น ก็มีข้อเสียคือ ผู้ป่วยอาจจะมีบาดแผลเพิ่มขึ้น จากการนำกระดูกส่วนอื่นมาทำการปลูกถ่าย อย่างไรก็ตาม ผู้เข้ารับการรักษาสามารถเลือกได้ว่าจะให้ทันตแพทย์นำกระดูกของตัวท่านเองมาปลูกถ่ายหรือไม่ หรืออาจะใช้กระดูกจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ซึ่งก็มีข้อดีคือ ผู้เข้ารับการรักษาจะไม่ต้องเจ็บตัวจากการผ่าตัดนั่นเอง
นอกจากนี้คุณควรมีการดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันให้ดี ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก หากมีการสะสมตัวของคราบแบคทีเรียที่มากและแข็งจนกลายเป็นคราบหินปูน ก็จะทำให้เกิดปัญหาโรคเหงือกอักเสบได้ ดังนั้นควรที่จะเข้ารับการตรวจช่องปากและฟันประจำปี อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง หรือ 6 เดือน ต่อ 1 ครั้ง เพื่อที่จะได้ตรวจช่องปากว่ามีปัญหาตรงไหนบ้าง ซึ่งทันตแพทย์จะได้ทำการแก้ไข เพื่อป้องกันการเกิดโรคเหงือกอักเสบและปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันอื่นๆด้วย ทั้งนี้เราสามารถดูแลรักษาความสะอาดของสุขภาพฟันได้ด้วยตัวเองโดย การทำความสะอาดช่องปากและฟัน แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างถูกวิธีเพื่อขจัดคราบแบคทีเรียไม่ให้สะสม และควรระมัดระวังในเรื่องของการรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่ถูกโภชนาการสำหรับฟันและกระดูก ควรหลีกเลี่ยงบุหรี่ และยาสูบ และทำการพบทันตแพทย์เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพียงเท่านี้คุณก็จะมีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดีอย่างแน่นอน และไม่ทำให้เกิดการสูญเสียฟันอีกด้วย